O2-อำนาจหน้าที่และพื้นที่ที่รับผิดชอบ นโยบายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ 20 ปี

๑. รักษาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
๒. ดูแล ควบคุม และกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๓. ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญา
๔. รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร
๕. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๖. ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศ
๗. ปฏิบัติการอื่นเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของสายงานต่างๆ ในระดับหน่วยงาน

    สถานีตำรวจ มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดในคดีอาญา ภายในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครอง รวมตลอดถึงการรับผิดชอบในด้านการงาน และการปกครองบังคับบัญชาถัดรองลงไปจากกองบังคับการตำรวจ นครบาล (๑-๙) หรือตำรวจภูธรจังหวัด เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคงภายใน บริการทางสังคม ชุมชน และมวลชนสัมพันธ์ การพัฒนางานบริหารและงานจเรตำรวจ การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และการรักษาความสงบเรียบร้อย รวมตลอดจนถึงงานกิจการพิเศษ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานีตำรวจ งานในสถานีตำรวจ แบ่งออกเป็น ๕ ลักษณะ ดังนี้ คือ
    ๑. งานอำนวยการ
    มีหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยการ การวางแผน การตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานของสถานีตำรวจ งานการบริหารบุคลากร งานจเรตำรวจ งานกิจการพิเศษ งานความมั่นคง การศึกษาการฝึกอบรม งานวิชาการ สวัสดิการ การพัฒนา การบริหารจัดการ งบประมาณ การเงิน การพัสดุ การพลาธิการและ สรรพวุธ การส่งกำลังบำรุง รวมทั้งลักษณะงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานดังกล่าว เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ
    ๒. งานป้องกันปราบปราม
    ต่อมากระทรวงมหาดไทยเห็นว่า สถานีตำรวจนครบาลหลายสถานีตั้งมาเป็นเวลานานแล้ว และมีเขตอำนาจการปกครองกว้างขวาง ซึ่งเดิมพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตอำนาจรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลเหล่านี้เป็นพื้นที่ว่างเปล่า แต่ปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบได้ทวีขึ้นอย่างรวดเร็วและหนาแน่นมาก ตลอดจนอาคารบ้านเรือนและสถานที่สำคัญได้เพิ่มมากขึ้น แต่เขตการปกครองของสถานีตำรวจนครบาลดังกล่าวยังมิได้เปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลเพิ่มขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒ แห่งพระราชกฤษฏีกาแบ่งพื้นที่ส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๕๐๘ ให้สถานีตำรวจนครบาลเตาปูนแบ่งพื้นที่รับผิดชอบออกไปเป็น ๒ สถานี คือ สถานีตำรวจ นครบาลเตาปูน และสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น โดยให้ขึ้นกับกองกำกับการตำรวจนครบาล ๔ มีพื้นที่รับผิดชอบเพียง ๘,๑๔๔ ตารางกิโลเมตร
    ๓. งานจราจร
    มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบและประเมินผลงานด้านการควบคุมจราจร จัดการและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับจราจร งานจราจรตามโครงการพระราชดำริ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการจราจร ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ ตลอดจนพื้นที่ที่มีการจราจรต่อเนื่องกัน
    ๔. งานสืบสวน
    มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการสืบสวน ปราบปราม อาชญากรรม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับตลอดจนองค์กรหรือเครือข่ายที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ
    ๕. งานสอบสวน
    มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลด้านการสอบสวนคดีอาญา การมีความเห็น การให้ความเห็นชอบ หรือการเห็นแย้งในคดีอาญา การอุทธรณ์ ฎีกา หรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ
  • พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547
  • พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
  • คำสั่ง ตร. 537/2555
  • คำสั่ง ตร. 538/2555
  • คำสั่ง ตร. 419/2556
  • ประมวลกฏหมายพิจารณาความอาญา
  • ประมวลกฏหมายอาญา

2.พื้นที่รับผิดชอบของ สภ.ตากูก

ข้อมูล ณ วันที่ 17 มีนาคม 2567

47986-1024×768.jpg

สถานภาพพื้นที่ ข้อมูลทั่วไป

  1. สภาพโดยทั่วไป
    1. สภาพภูมิศาสตร์ทั่วไป
      • ลักษณะที่ตั้ง

สถานีตำรวจภูธรตากูก       ตั้งอยู่เลขที่    76   หมู่ที่ 7 บ้านตาปุด ตำบลปราสาททอง

อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดสุรินทร์ ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ 25 กิโลเมตร

2.เนื้อที่

รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 4 ไร่ 64 ตารางวา

3.อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ         ติดต่อกับตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์

ทิศใต้             ติดต่อกับตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ทิศตะวันออก    ติดต่อกับตำบลแตล,ตำบลช่างปี่  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  

ทิศตะวันตก     ติดต่อกับตำบลเขวาสินรินทร์  อำเภอเขวาสินรินทร์จังหวัดสุรินทร์

4.ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ดินรวนปนทราย ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพทำนา อาชีพเสริม เช่นทอผ้าไหม

5.สภาพภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู

ฤดูร้อน           เริ่มแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม

ฤดูฝน            เริ่มแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม

ฤดูหนาว         เริ่มแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์

6.การปกครอง

เขตพื้นที่รับผิดชอบของ สภ.ตากูก มี 2 ตำบล

1) ตำบลตากูก  ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน พื้นที่ 27,048 ไร่(43.2768 ตารางกิโลเมตร)

          – หมู่ที่   1  บ.ตากูก               – หมู่ที่   2  บ.ตากูก

          – หมู่ที่   3  บ.ตากูก               – หมู่ที่   4  บ.โชค

          – หมู่ที่   5  บ.สนวน               – หมู่ที่   6  บ.ตากแดด

          – หมู่ที่   7  บ.อาไร                – หมู่ที่   8  บ.อำปึล

          – หมู่ที่   9  บ.อำปึล               – หมู่ที่ 10  บ.โพธิ์คู่

2) ตำบลปราสาททอง ประกอบด้วย 13 หมู่บ้าน พื้นที่ 32,310 ไร่(51.696 ตารางกิโลเมตร)

          – หมู่ที่   1  บ.ฉันเพล              – หมู่ที่   2  บ.ฉันเพล

          – หมู่ที่   3  บ.พะเนา              – หมู่ที่   4  บ.ระงอล

          – หมู่ที่   5  บ.หนองไทร – หมู่ที่   6  บ.สามโค

          – หมู่ที่   7  บ.ตาปุด               – หมู่ที่   8  บ.แสรออ

          – หมู่ที่   9  บ.ใหม่                 – หมู่ที่ 10  บ.ระไซร์

          – หมู่ที่ 11  บ.ตาสอน              – หมู่ที่ 12  บ.โพธิ์น้อย

          – หมู่ที่ 13  บ.หนองโพธิ์

7.ประชากร

จำนวนประชากรรวมทั้งสิน       13,741 คน

จำนวนหลังคาเรือนรวมทั้งสิน      2,823          หลังคาเรือน

ตำบลตากูก              มีประชากรรวมทั้งสิ้น    7,188  คน               

แยกเป็น ชาย 3,627คน แยกเป็น หญิง   3,561 คน

จำนวนหลังคาเรือนรวมทั้งสิน      1,474          หลังคาเรือน

ตำบลปราสาททอง      มีประชากรรวมทั้งสิ้น    6,553  คน

แยกเป็นชาย 3,204 คน แยกเป็น หญิง   3,349  คน 

จำนวนหลังคาเรือนรวมทั้งสิน      1,349          หลังคาเรือน

3.นโยบายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ 20 ปี

ยุทธศาสตร์-ตร.-20-ปี